ประมวลภาพ มหัศจรรย์ในคืนอาสาฬหบูชา 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ดาวอังคารตรงข้ามดวงอาทิตย์ – จันทรุปราคาเต็มดวง – ดวงจันทร์ไกลโลกสุด เมื่อช่วงค่ำวันที่ 27 ก.ค. ถึงรุ่งเช้า 28 ก.ค.
Image # 2.
Image # 3.
วานนี้ (27 กรกฎาคม 2561) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีรายงานเผยภาพบรรยากาศการสังเกตการณ์ 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญที่เกิดขึ้นตลอดคืนวันที่ 27 กรกฎาคม คือ ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ จันทรุปราคาเต็มดวงนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 และดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี โดย สดร. มีโดยตั้งกล้องโทรทรรศน์บริการประชาชน 4 จุดสังเกตการณ์หลัก คือที่ เชียงใหม่ โคราช ฉะเชิงเทรา และสงขลา พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมชมปรากฏการณ์ด้วยกัน ตั้งแต่เวลา 18.00-04.30 น.
พบว่า บริเวณลานนางเงือก หาดสมิหลา จ.สงขลา ท้องฟ้าเปิดตั้งแต่ช่วงค่ำ สังเกตเห็นดาวอังคารสว่างชัดเต็มตา เนื่องจากอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ เคียงดวงจันทร์เต็มดวง และยังสังเกตเห็นวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ อาทิ ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี ผ่านกล้องโทรทรรศน์หลากหลายชนิด เช่นเดียวกับหลายจังหวัดภาคใต้ พบท้องฟ้าเป็นใจต่อการสังเกตการณ์ อาทิ กระบี่ ภูเก็ต สุราษฏร์ฯ ยะลา
Image # 4.
ส่วนบรรยากาศที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา ได้รับความสนใจจากเยาวชนและประชาชนจำนวนมาก เฝ้ารอสังเกตการณ์ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ แต่สภาพอากาศไม่เป็นใจ ท้องฟ้ามีเมฆมาก และฝนตกบางช่วงเวลา เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสังเกตการณ์
Image # 5.
ขณะที่ช่วงหลังเที่ยงคืนวันที่ 27 กรกฎาคม ยังคงมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ให้เฝ้ารอชม เวลาประมาณ 00.14 น. จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 คราสเต็มดวงกินเวลา 1 ชั่วโมง 43 นาที ตั้งแต่เวลา 02.30-04.13 น. และยังตรงกับช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวงโคจรไกลโลกที่สุดในรอบปีอีกด้วย
ทั้งนี้ประเทศไทยจะสามารถสังเกตปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ถึงเวลาประมาณ 05.19 น. ของวันที่ 28 กรกฎาคม
Image # 6.
Image # 7.
Image # 8.
Image # 9.
Image # 10.
Image # 11.
Image # 12.
Image # 13.
Image # 14.
Image # 15.
Image # 16.
Image # 17.