

1.การหาสนามไฟฟ้าจากประจุไฟฟ้าต้นกำเนิดสนาม Q
นิยามค่าสนามไฟฟ้า หมายถึง ” แรงที่เกิดขึ้นบนประจุ +1 คูลอมบ์ ที่เอาไปวางในสนามไฟฟ้านั้น ” สนามไฟฟ้าจากประจุ Q ใด ๆ มีค่าดังนี้
Image # 3.

Q = ประจุแหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดสนามไฟฟ้า หน่วยคูลอมบ์ (C)
R = ระยะจากแหล่งกำเนิดถึงจุดที่ต้องการรู้ค่าสนามไฟฟ้า หน่วย เมตร (m)
ทิศของสนามไฟฟ้า ที่เกิดจากจุดประจุต้นกำเนิดสนาม Q

2. การหาสนามไฟฟ้าจากแรงที่กระทำต่อประจุทดสอบ q
ในการหาสนามไฟฟ้า ให้นำประจุทดสอบ q ไปวาง ณ จุดที่เราต้องการหาสนามไฟฟ้า เมื่อมีแรง F ที่กระทำบนบนประจุทดสอบ หาค่าสนามไฟฟ้าจากอัตราส่วนแรงกระทำต่อประจุ ซึ่งสนามไฟฟ้ามีค่าเท่ากับแรงที่กระทำต่อประจุ 1 คูลอมบ์ หาได้จากสมการ

F = แรงที่กระทำบนประจุ (N)
E = สนามไฟฟ้า(N/C)
q = ประจุทดสอบ (C)


การหาทิศของสนามไฟฟ้าจากแรงที่กระทำต่อประจุทดสอบ q


3. สนามไฟฟ้าระหว่างแผ่นตัวนำคู่ขนาน
มีแผ่นตัวนำโลหะ 2 แผ่นวางขนานกัน เมื่อทำให้แผ่นหนึ่งมีประจุไฟฟ้า +Q และอีกแผ่นหนึ่งมีประจุไฟฟ้า -Q จะมีสนามไฟฟ้าระหว่างแผ่นทั้งสอง
Image # 9.
การหาขนาดของสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอ
Image # 10.
ข้อสังเกต จากสมการหาสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอระหว่างแผ่นตัวนำคู่ขนาน ระยะห่างระหว่างแผ่นขนาน จะแปรผกผันกับ สนามไฟฟ้า
4. สนามไฟฟ้าของตัวนำทรงกลม
พิจารณาตัวนำทรงกลมกลวงหรือตันที่มีประจุไฟฟ้าอิสระ ประจุจะกระจายอยู่ที่ผิวของตัวนำทรงกลมสม่ำเสมอ ซึ่งพบว่าทรงกลมที่มีประจุนี้ จะแผ่สนามไฟฟ้าไปโดยรอบ และเนื่องจากประจุบนตัวนำทรงกลมกระจายตัวอย่างสมำเสมอนี้ ทำให้เราอาจหาสนามไฟฟ้าภายนอกทรงกลมได้ โดยพิจารณาว่า ทรงกลมนี้ประพฤติตัวเหมือนจุดประจุ รวมกันอยู่ตรงกลางทรงกลม
Image # 11.
การหาสนามไฟฟ้าที่จุด A ซึ่งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของทรงกลมเป็นระยะ r คิดเสมือนว่าประจุ Q ทั้งหมดรวมกันที่จุดศูนย์กลางของทรงกลม ดังนั้น การหาขนาดของสนามไฟฟ้า ณ จุดซึ่งห่างจากจุดศูนย์กลางของทรงกลมเป็นระยะ r หาได้จาก
เนื่องจากเส้นแรงไฟฟ้าตั้งฉากกับผิวของตัวนำ และไม่สามารถผ่านทะลุไปในตัวนำได้ ดังนั้น ภายในตัวนำ ค่าความเข้มของสนามไฟฟ้าจึงมีค่าเป็นศูนย์เสมอ และที่ผิวของตัวนำทรงกลมมีความเข้มสนามไฟฟ้ามากที่สุด ซึ่งแสดงได้รูปและกราฟข้างล้าง
- สนามไฟฟ้าภายในทรงกลม
Image # 12.
- สนามไฟฟ้าที่ผิวทรงกลม

- สนามไฟฟ้าภายนอกทรงกลม

สนามไฟฟ้าภายนอกทรงกลม(วัดระยะถึงจุดศูนย์กลางทรงกลม)
Image # 15.
Image # 16.
สรุป
1. สนามไฟฟ้า ณ ตำแหน่งต่างๆ ในที่ว่างภายในตัวนำรูปทรงใดๆ มีค่าเป็นศูนย์
2. สนามไฟฟ้า ณ ตำแหน่ง ที่ติดกับผิวของตัวนำ จะมีทิศตั้งฉากกับผิวเสมอ
การหาสนามไฟฟ้ารวมที่จุดๆหนึ่ง
- เขียนเวกเตอร์สนามไฟฟ้า ณ จุดที่ต้องการหาสนามไฟฟ้ารวม โดยสนามไฟฟ้ามีทิศออกจากประจุบวก และทิศเข้าหาประจุไฟฟ้าลบ
- รวมสนามไฟฟ้าด้วยวิธีรวมเวกเตอร
เช่น จากรูปหาสนามไฟฟ้ารวมที่จุด A ซึ่่งสนามไฟฟ้า E1 เกิดจากประจุ +Q1 และสนามไฟฟ้า E2 เกิดจากประจุไฟฟ้า -Q2


Image # 19.