คลังเก็บรายเดือน: ธันวาคม 2016
จีนเปิดใช้แล้ว! ‘สะพานเป่ยผานเจียง’สูงที่สุดในโลก เชื่อมยูนนาน-กุ้ยโจว ประหยัดเวลาได้กว่า3เท่า
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า จีนเปิดให้ใช้สะพานเป่ยผานเจียง ที่ได้ชื่อว่าเป็นสะพานที่สูงที่สุดในโลกอย่างเป็นทางการแล้วในวันศุกร์ (30 ธันวาคม) นี้ จากคำประกาศของกรมการขนส่งมณฑลกุ้ยโจว ที่แถลงผ่านเว็บไซต์ของทางการในวันเดียวกัน

สะพานเป่ยผานเจียง เป็นสะพานสัญจรที่สร้างขึ้นสูงเหนือระดับแม่น้ำ 565 เมตร เชื่อม 2 มณฑลที่เป็นพื้นที่ภูเขาคือมณฑลยูนนานและมณฑลกุ้ยโจวเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถย่นระยะทางและประหยัดเวลาในการเดินทางได้จากเมืองซวนเว่ย ในมณฑลยูนนาน ไปยังเมืองสุ่ยเชิง ในมณฑลกุ้ยโจว ได้มากกว่า 3 ใน 4 หรือใช้เวลาในการขับรถลดลงจากกว่า 4 ชั่วโมง เหลือเพียงแค่ราว 1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งนับว่าสะดวกมากๆ สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางระหว่างสองเมืองนี้

กุ้ยโจวเดลีรายงานว่า สะพานเป่ยผานเจียงมีระยะทาง 1,341 เมตร มีมูลค่าการก่อสร้างกว่า 1 พันล้านหยวน กลายมาเป็นสะพานที่สูงที่สุดในโลกแทนที่สะพานข้ามแม่น้ำซื่อตู้ ในมณฑลเหอเป่ยของจีน

ข่าวระบุว่า แม้สะพานที่สูงที่สุดในโลกหลายแห่งจะอยู่ในจีน แต่สะพานที่สูงที่สุดในโลกที่ใช้มาตรวัดความสูงจากตัวโครงสร้างของสะพานเอง มากกว่าใช้เกณฑ์วัดจากระดับพื้นดิน สะพานที่สูงที่สุดในโลกยังคงเป็นสะพานทางรถไฟมิลโล ในประเทศฝรั่งเศส ที่มีความสูง 343 เมตร

สุดเจ๋ง! ชมคลิปรถขับอัตโนมัติ “เทสลา” ทำนายอุบัติเหตุก่อนเกิดขึ้นจริง
คลิปจากกล้องหน้ารถของผู้ใช้รถยนต์ “เทสลา” รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา แสดงให้เห็น ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของรถเทสลา ที่สามารถส่งเสียงแจ้งเตือน ก่อนที่รถคันหน้าจะเกิดอุบัติเหตุขึ้น
คลิปดังกล่าวอัพโหลตครั้งแรกผ่านทวิตเตอร์โดยผู้ใช้ที่มีชื่อว่า “Hans Noordsij” แสดงให้เห็นสัญญาณเตือนที่ดังขึ้นก่อนเกิดอุบัติเหตุรถชนห่างออกไปข้างหน้าราว 50 เมตร ก่อนที่ระบบเบรกฉุกเฉินของรถเทสลาจะทำงาน
Noordsij ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า สิ่งที่น่าประทับใจไม่ใช่เพียงระบบเรดาของเทสลาสามารถทำนายอุบัติเหตุได้เท่านั้นแต่ ระบบดังกล่าวยังสามารถรับรู้ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับรถสองคันที่อยู่ข้างหน้าได้
Noordsij ระบุด้วยว่า ระบบเบรกอัตโนมัติเบรกรถลงก่อนที่ ตนจะเข้ามาควบคุมเบรกด้วยตัวเอง และว่า คนขับรถที่เกิดอุบัติเหตุนั้นสามารถออกมาจากรถได้และได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
ชมคลิป
คลังเก็บสะสมมันสมองของมนุษย์
ศาสตราจารย์ จอย สปานาเบล เอเมอรี ภัณฑารักษ์ผู้ดูแลชิ้นงานศิลปกรรมประเภทเย็บปักถักร้อยของมหาวิทยาลัยโรด ไอแลนด์ วิทยาเขตเซาท์ คิงส์ทาวน์ รัฐโรด ไอแลนด์ สหรัฐอเมริกา สถาบันเทคโนโลยีการแสดงแห่งสหรัฐฯระบุว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่สะสมชิ้นงานศิลปะดังกล่าวใหญ่ที่สุดในโลก.
สวรรค์ของนักสกีและนักท้าความหนาว
ทัศนียภาพแหล่งท่องเที่ยว “รูสึตซุ รีสอร์ต” บนเกาะฮอกไกโด เกาะที่ตั้งอยู่ภาคเหนือสุดของประเทศญี่ปุ่น มีรีสอร์ตสำหรับเล่นสกีมากมายหลายแห่ง ฤดูหนาวแต่ละปีนักเล่นสกีและผู้นิยมอากาศหนาวเย็นยะเยือกจะหลั่งไหลไปเยือน ส่งผลให้การท่องเที่ยวบูม ฮอกไกโดเลยติดอันดับท็อปของจุดหมายปลายทางนักทัศนาจร.
ความงามเหนือฟากฟ้า! ธรรมชาติเนรมิต “รุ้งหลายชั้น” เหนือมหานครปักกิ่ง (ชมภาพ)
เครื่องบินเหินฟ้าผ่านรุ้งหลายชั้น(ภาพไซน่า สื่อจีน)
ชาวปักกิ่งแห่ชมปรากฎการณ์ธรรมชาติ “รุ้งหลายชั้น”
เมื่อลมฝนเคลื่อนตัวพ้นผ่านมหานครปักกิ่ง ดวงตะวันก็สาดลำแสงสีทองตัดกับละอองน้ำบนฟากฟ้า เกิดเป็น “รุ้งหลายชั้น” ปรากฏการณ์ธรรมชาติหายาก อวดสายตาชาวเมืองปักกิ่ง ซึ่งพากันถ่ายภาพความงามตามธรรมชาติ และแชร์บนโลกออนไลน์แดนมังกร
“รุ้งกินน้ำ” เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากฝนตก เกิดขึ้นจากการหักเหของแสงเมื่อส่องผ่านละอองน้ำในอากาศ กลายเป็นแถบสีต่างๆบนท้องฟ้า โดยในบางครั้งจะสามารถเห็นเป็น “รุ้งหลายชั้น” (Supernumerary Rainbow) ซึ่งประกอบไปด้วย “รุ้งปฐมภูมิ” (primary rainbow) อันมีสีแดงอยู่ด้านนอก และมีสีม่วงอยู่ในสุดของวง ในขณะที่ “รุ้งทุติยภูมิ” (secondary rainbow) จะมีสีสันเรียงกลับกัน และมักปรากฎตัวอยู่เหนือรุ้งปฐมภูมิ
ชาวเมืองปักกิ่งต่างหยุดมองปรากฎการ์ธรรมชาติ(ภาพไซน่า สื่อจีน)
“รุ้งหลายชั้น” พาดผ่านฟากฟ้าปักกิ่ง (ภาพไซน่า สื่อจีน)
“รุ้งหลายชั้น” พาดผ่านฟากฟ้าปักกิ่ง (ภาพไซน่า สื่อจีน)
ที่มา http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9590000052211
มหัศจรรย์! ชมปรากฏการณ์ “เสาแสง” ส่องสว่างพวยพุ่งสู่ท้องฟ้า อลังการราวสวรรค์เนรมิต (ชมภาพ)
ปรากฏการณ์ ปรากฎการณ์ “เสาแสง” ส่องสว่างพวยพุ่งสู่ท้องฟ้า (ภาพเอเจนซี)
กลุ่มสื่อจีนรายงาน (28 ธ.ค. ) ชาวมองโกเลียในตื่นตากับปรากฎการณ์ “เสาแสง”
เมื่อเวลาราว 19.30 ของวันจันทร์ (26 ธ.ค. ) อุณหภูมิในบริเวณเขตปกครองตนเองมองโกเลียในได้ลดลงตัวจนถึงติดลบ 20 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดปรากฎการณ์ “เสาแสง” (Light Pillar) ส่องสว่างทั่วทั้งเมือง สวยงามราวกับว่าเป็นฉากในเทพนิยาย
ทั้งนี้ ปรากฎการณ์เสาแสงเกิดจากผลึกน้ำแข็งในอากาศสะท้อนตัวกับแสง ทำให้สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้เป็นลักษณะลำแสงพุ่งตรงขึ้นไปบนท้องฟ้า
“เสาแสง” (Light Pillar) ส่องสว่างทั่วทั้งเมือง สวยงามราวกับว่าเป็นฉากในเทพนิยาย (ภาพเอเจนซี)
ผลึกน้ำแข็งในอากาศสะท้อนตัวกับแสง ทำให้สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า (ภาพเอเจนซี)
ปรากฏการณ์ ปรากฎการณ์ “เสาแสง” ส่องสว่างพวยพุ่งสู่ท้องฟ้า (ภาพเอเจนซี)
ปรากฏการณ์ “เสาแสง” ส่องสว่างพวยพุ่งสู่ท้องฟ้า อลังการราวสวรรค์เนรมิต (ภาพเอเจนซี)
“เสาแสง” (Light Pillar) ส่องสว่างทั่วทั้งเมือง สวยงามราวกับว่าเป็นฉากในเทพนิยาย (ภาพเอเจนซี)
ที่มา http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9590000129383
สะพานแบบหมุน (คลิป)
สะพานแบบหมุน (คลิป) เวลาเรือขนาดใหญ่และสูง จะผ่านสะพาน สะพานแบบเดิมใช้วิธียกและเปิดออก แต่แบบใหม่นี้ เป็นแบบหมุน เมื่อหมุนแล้ว เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านได้
https://www.facebook.com/rmutphysics/videos/1302052113192938/
สหประชาชาติเล็ง ห้ามพัฒนา ‘หุ่นยนต์สังหาร’
เมื่อปลายปี 2015 ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์และผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมากกว่า 1,000 คน รวมทั้ง อีลอน มัสก์ ผู้พัฒนา เทสลา และ สเปซเอ็กซ์ กับตัวแทนของ กูเกิล และ ไมโครซอฟท์ เข้าชื่อกันทำจดหมายถึงสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เรียกร้องให้ยูเอ็นดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อห้ามหรือควบคุมการพัฒนา “ระบบอาวุธทำลายล้างอัตโนมัติ” หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “หุ่นยนต์สังหาร” อันหมายถึงระบบอาวุธอัตโนมัติที่ควบคุมโดยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ซึ่งสามารถเลือกเป้าและกำหนดเวลาสังหารได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากการควบคุมของมนุษย์
นักทฤษฎีฟิสิกส์ชื่อดังชาวอังกฤษอย่าง สตีเฟน ฮอว์กิ้ง ออกมาเน้นย้ำให้เห็นถึงอันตรายของ เอไอและหุ่นสังหารเป็นระยะๆ โดยยืนยันว่าหากปราศจากการควบคุมหรือวางกรอบพัฒนาที่ดี เอไออาจกลายเป็นความเสี่ยงมหาศาลถึงขนาดทำลายอารยธรรมมนุษย์ให้สิ้นสุดลงได้เลยทีเดียว
แรงกดดันจากนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำและผู้นำธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ เหล่านั้น นำไปสู่การเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องนี้เป็นครั้งแรก ในที่สุดนานาชาติว่าด้วยอาวุธในรูปแบบ (อินเตอร์เนชั่นแนล คอนเวนชั่น ออน คอนเวนชั่นแนล วีพพอนส์) ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตัวแทนชาติที่เข้าร่วมในการประชุม 123 ประเทศ ลงมติให้มีการจัดการประชุมเพื่อหารือถึงอันตรายของระบบอาวุธทำลายล้างอัตโนมัติขึ้น “อย่างเป็นทางการ” ในปี 2017 ที่จะถึงนี้
สตีเฟน กูส ผู้อำนวยการแผนกอาวุธของ ฮิวแมนไรต์ส วอตช์ องค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรรณรงค์เพื่อยับยั้งหุ่นสังหาร (แคมเปญ ทู สต๊อป คิลเลอร์ โรบอต) ระบุว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นข่าวดี เพราะการตัดสินใจในระดับสูงของนานาชาติ การเปลี่ยนสถานะจาก “ไม่เป็นทางการ” สู่ความ “เป็นทางการ” นั้น ถือเป็นการรุดหน้าครั้งใหญ่ จากการพูดจากันอย่างเดียวไปสู่การหารือกันเพื่อหาข้อยุติไป “ดำเนินการ” ซึ่งคาดหมายกันว่าการประชุมนานาชาติในปีใหม่นี้จะให้ผลลัพธ์ที่หนักแน่นชัดเจนออกมา
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของยูเอ็นสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนี้ ที่บรรดาหน่วยงานของกองทัพของหลายประเทศทั่วโลก ออกมายอมรับกันว่ากำลังพัฒนาระบบอาวุธทำลายล้างอัตโนมัติขึ้นด้วยกันทั้งนั้น ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทางการจีนก็ออกมาเปิดเผยว่ากำลังวิจัยหาทางใช้เอไอและระบบอัตโนมัติในจรวดครูสยุคต่อไปของตน
“แผนพัฒนาอาวุธที่ติดตั้งเอไอของจีนอาจฟังดูน่าตกใจ แต่จริงๆ แล้วไม่น่าตระหนกเท่ากับความพยายามในทำนองเดียวกันของสหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, อิสราเอล และประเทศ อื่นๆ” กูสระบุ “สหรัฐอเมริกาเป็นชาติที่รุดหน้าในด้านนี้มากที่สุด กองทัพทันสมัยส่วนใหญ่จะเดินไปตามแนวทางของระบบอาวุธอัตโนมัติ เทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยให้หุ่นสังหารที่พัฒนากันขึ้นมาสามารถเป็นไปได้ในหลายรูปแบบ หลายขนาด และรูปร่าง มีตั้งแต่ที่ขนาดเล็กจิ๋ว แต่โจมตีด้วยกันกลุ้มรุมกันเข้ามานับหมื่นนับแสน ไปจนถึงระบบอาวุธอัตโนมัติที่โจมตีจากทางอากาศ ทางภาคพื้นดิน จากท้องทะเล หรือใต้น้ำ”
สตีเฟน กูส ชี้ความแตกต่างสำคัญระหว่างระบบอาวุธทั่วไป, ระบบอาวุธกึ่งอัตโนมัติ เช่นโดรน กับระบบอาวุธอัตโนมัติเต็มรูปแบบที่ใช้เอไอว่า อยู่ตรงที่การเกี่ยวข้องของมนุษย์ เพราะในระบบอาวุธอัตโนมัติเต็มรูปนั้น มนุษย์จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ อีกเลย ทั้งในการเลือกว่าเป้าหมายในการโจมตีคืออะไรและจะเริ่มการโจมตีเมื่อใด ระบบอาวุธจะเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในสนามรบดังกล่าวด้วยตัวเองอาศัยเพียงเซ็นเซอร์และปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมหน้าของการรบไปโดยสิ้นเชิง แต่ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อสิ่งที่ดีกว่าของมนุษยชาติแน่นอน
กูสชี้ว่า แรงกดดันจากผู้นำในแวดวงอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ช่วยกระตุ้นให้ยูเอ็นตัดสินใจดำเนินการอย่างจริงจังมากขึ้นในครั้งนี้ ในแวดวงวิทยาศาสตร์เองดูเหมือนมีทรรศนะในเรื่องนี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทุกคนล้วนกังวลว่า ระบบอาวุธอัตโนมัติเต็มรูปแบบนั้น ไม่เพียงเสี่ยงต่อการเกิด “การแข่งขันสั่งสมอาวุธหุ่นสังหาร” ขึ้นที่สั่นคลอนต่อเสถียรภาพของโลกเท่านั้น ยังเสี่ยงต่อการเกิดการทำลายล้างมนุษยชาติหากเกิดความผิดเพี้ยนหรือผิดพลาดขึ้นในระบบเอไอที่สามารถนำไปสู่หายนะได้โดยง่าย
นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายยังเกรงกันว่า การมุ่งพัฒนานำเอไอไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการทหาร จะทำให้ชื่อเสียงของเอไอเสียหาย
และการพัฒนาเอไอไปในทางที่จะเอื้อประโยชน์ต่อมนุษยชาติได้สูงสุดก็จะทำได้ยากลำบากมากขึ้นอีกด้วย
หุ่นยนต์ประกอบรถยนต์ คลิป
หุ่นยนต์ประกอบรถยนต์ ท่านจะได้เห็นกระบวนการประกอบรถยนต์ ตั้งแต่ต้นจนเสร็จ แล่นออกจากสายการผลิต
https://www.facebook.com/rmutphysics/videos/1301663926565090/
การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก มีคลิป
ฟิสิกส์ กับ การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก
การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกหรือการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย (simple harmonic motion) เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุกลับไปมาซ้ำทางเดิมผ่านตำแหน่งสมดุล โดยมีขนาดของการกระจัดสูงสุดคงตัว เรียกว่า แอมพลิจูด ช่วงเวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ เรียกว่า คาบ ( T ) และจำนวนรอบที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ใน 1 วินาที เรียกว่า ความถี่ f
เครื่องเล่นในสยามพาร์คซิตี้ที่มีการเคลื่อนที่เป็นแบบซิมเปิลฮาร์มอนิกหรือเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายนี้ คือ Twin Dragon
ซึ่งตัววัตถุหรือที่นั่งทำเป็นรูปเรือมังกรสองหัว แขวนไว้กับจุดแขวนด้วยแขนโลหะยาว ประมาณ 15 เมตร ขณะแกว่งตัวเรือจะมีอัตราเร็วมากที่สุดขณะผ่านตำแหน่งสมดุลซึ่งอยู่ตรงตำแหน่งต่ำสุดและจะมีอัตราเร็วเป็นศูนย์ เมื่อแกว่งไปถึงตำแหน่งสูงสุด
https://www.facebook.com/rmutphysics/videos/1300476050017211/