คลังเก็บรายเดือน: ธันวาคม 2021
ไปชมขั้นตอนการผลิตดินสอกัน
ดินสอผลิตโดยการใส่แกรไฟต์กับผงถ่าน เติมน้ำลงไป ผสมแล้วทำให้เป็นแท่งยาวคล้ายของที่มีลักษณะแหลม เผาในเตาให้แข็ง จากนั้นจุ่มในน้ำมันหรือขี้ผึ้ง เพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้น จากนั้นประกอบเข้ากับไม้ที่เจาะรูไว้ให้เป็นแท่งดินสอ
ฟิสิกส์ดิสคอฟเวอรี่
http://www.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=2367&Itemid=14
โซจู (Soju) และกระบวนการผลิต
โซจู คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในเกาหลี มีสีใส กลิ่นและรสชาติเหมือนวอดก้า ในช่วงก่อนสมัยสงครามเกาหลี โซจูทำมาจากข้าวเป็นหลัก แต่เนื่องจากภาวะสงคราม ข้าวเริ่มหายากขึ้น จึงได้เปลี่ยนวัตถุดิบจากข้าวมาเป็นมันหวาน ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ และมันสำปะหลังแทน เดิมทีการทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ไม่ได้เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเกาหลี แต่เกาหลีได้รับวัฒนธรรมการดื่มนี้มาจากชาวมองโกล และชาวมองโกลก็ได้รับภูมิปัญญาในการกลั่นเหล้ามาจากชาวอิรัก ช่วงต้นศตวรรษที่ 13 ยุคโครยอ โซจูนั้นหายากและมีราคาแพง เพราะมีการผลิตที่ยุ่งยาก จึงเป็นเครื่องดื่มสำหรับคนชนชั้นสูงเท่านั้น
แต่ในช่วงปีค.ศ. 1919 เกาหลีก็ได้ตั้งโรงงานผลิตโซจูเป็นครั้งแรกที่เมืองพยองยาง ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โซจูกลายเป็นเครื่องดื่มที่เข้าถึงกลุ่มคนชนชั้นอื่นนอกจากชนชั้นสูง และหลังจากตั้งโรงงานโซจูเป็นครั้งแรกก็มีโรงงานที่ผลิตโซจูเพิ่มขึ้น โซจูจึงมีราคาที่ถูกลง และเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้ กระบวนการทำโซจู เริ่มจากการเอามันหวาน ข้าวโพด ข้าวหรือมันสำปะหลัง ไปต้มหรือนึ่งให้สุก แล้วนำมาหมักกับหัวเชื้อที่เรียกว่า “นูรุก” เพื่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์ หลังจากนั้นนำมากลั่นให้ออกมาเป็นแอลกอฮอล์ที่ใส ไม่มีสี
ในปัจจุบันนี้ แบรนด์ต่าง ๆ ก็ปรับรสชาติให้ดื่มง่ายขึ้น โดยการใส่กลิ่นผลไม้ลงไป เป็นโซจูรสพีช โซจูรสส้ม โซจูรสองุ่น โซจูรสโยเกิร์ต และมีอีกหลากหลายสูตร หลากหลายรูปแบบออกมา นอกจากใส่กลิ่นเพิ่มแล้ว ก็ยังนำไอดอลมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ทำให้โซจูมีภาพลักษณ์ที่เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย โซจู 1 ขวด มีปริมาณแคลลอรี่อยู่ที่ 250 – 280 กิโลแคลอรี่ และมีปริมาณแอลกฮฮอล์อยู่ที่ 20 – 34% แต่ถ้าเป็นโซจูกระป๋องรสผลไม้ ปริมาณแอลกอฮอล์จะอยู่ที่ 14 – 16% เท่านั้นค่ะ
นุรุก จุลินทรีย์ที่ใช้หมักโซจู
ส่วนสำคัญในกระบวนการหมักที่ขาดไม่ได้เลย คือจุลินทรีย์ในการหมักนั่นเองค่ะ ซึ่งจุลินทรีย์หรือ “นูรุก” ที่ใช้ในการหมักโซจูนั้น ทำมาจากข้าวสาลีที่บดและอัดในพิมพ์สี่เหลี่ยมหรือวงกลม แล้วนำไปทิ้งไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิสูงเป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยวางไว้บนกองฟางหรือหญ้า ในระหว่างนี้ เชื้อรา Aspergillus oryzae, Rhizopus oryzae และยีสต์ จำพวก Saccharomyces, Saccharomycopsis และ Pichia จะเจริญเติบโตขึ้น ก้อนนุรุกจะแห้งและมีลักษณะแข็ง ด้านนอกจะมองไม่เห็นเชื้อรา แต่ถ้ากระเทาะดูข้างในแล้วจะเห็นเป็นเส้นใยสีเหลือง ๆ ถ้ามีเส้นใยแปลว่าก้อนนูรุกสามารถนำไปใช้ได้ นอกจากข้าวสาลีแล้วก็ยังสามารถใช้ข้าวบาร์เลย์ และข้าวในการหมักให้เกิดเชื้อราก็ได้
วัฒนธรรมในการดื่มโซจู
ส่วนใหญ่คนเกาหลีมักดื่มโซจูพร้อมกับมื้ออาหาร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดื่มให้หลากหลายมากขึ้น เช่น
ดื่มเพียว ๆ แบบไม่แช่ หรือแบบแช่เย็น ปกติแล้วมักกินคู่กับอาหาร
ดื่มแบบผสมเบียร์ เรียกว่า โซแมก (มาจากคำว่า โซจู + แมกจู ที่แปลว่าเบียร์)
ดื่มแบบผสมเป็นค็อกเทล ส่วนผสมหลัก ๆ คือ สไปร์ท โซดา มะนาว ยาคูลท์ ฯลฯ
อาหารที่มักกินคู่กับโซจู
อาหารที่มักกินคู่กับโซจู มีด้วยกันหลากหลาย แต่ที่คนเกาหลียกให้เป็นอาหารที่ต้องกินคู่กับโซจู คือ
หมูย่างเกาหลี
ซุนแด หรือไส้กรอกเลือด
โอเด้ง และต๊อกบกกี
โบซัม หรือหมูสามชั่นนึ่ง กินกับกิมจิและผัก
เต้าหู้กิมจิ เต้าหู้สด หั่นเป็นชิ้น ๆ และกิมจิผักกาดขาว
คัมจาทัง หรือ แกงเผ็ดมันฝรั่ง
ปลาดิบ
จกบัล หรือ ขาหมูตุ๋น
แมอุนทัง หรือ แกงเผ็ดใส่ปลาทะเล
มาม่าเกาหลี
สรุปแบบง่าย ๆ
กระบวนการ : ใช้การหมักและนำมากลั่น
ลักษณะภายนอก : สีใส มีกลิ่นแอลกอฮอล์
รสชาติ : บาดคอ หวานเล็กน้อยที่ปลายลิ้น
ประเทศที่นิยมดื่ม : เกาหลี
ปริมาณแอลกอฮอล์ : 14 – 34%
โซจู 1 ขวดกี่แคล : 250 – 280 กิโลแคลอรี่
อ่านต่อได้ที่ https://www.wongnai.com/articles/soju-shochu-sake?ref=ct
ยานสำรวจจีน พบวัตถุปริศนาคล้าย“กระท่อม” ทางซีกใต้ของดวงจันทร์
ยานสำรวจจีน พบวัตถุปริศนาคล้าย“กระท่อม” ทางซีกใต้ของดวงจันทร์
ยานโรเวอร์สำรวจพื้นผิวอวี้ทู่-2 หรือ Yutu-2 ของจีนที่กำลังสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์อยู่ในขณะนี้ตรวจพบวัตถุปริศนาตั้งอยู่ทางซีกทิศใต้ของดวงจันทร์ ซึ่งเหล่านักสำรวจได้ตั้งชื่อให้มันว่า “กระท่อมปริศนา”
วัตถุปริศนาดังกล่าวถูกถ่ายได้โดยยาน อวี้ทู่-2 ห่างออกไปทางเหนือประมาณ 80 เมตร ยานโรเวอร์สำรวจพื้นผิวอวี้ทู่-2 มีความเร็วเฉลี่ยน้อยกว่า 1 เมตร หากเทียบกับระยะเวลาหนึ่งวันของโลก คาดว่าจะใช้เวลาหลายเดือนก่อนที่ยานจะเดินทางถึงวัตถุปริศนานี้ ในขณะที่ต้องหลีกเลี่ยงแอ่งต่างๆ ที่สังเกตเห็นเป็นจุดๆ บริเวณด้านไกล
โครงการอวกาศของจีนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมีสิ่งประดิษฐ์เกิดขึ้นมากมาย อาทิ หุ่นยนต์สำรวจดวงจันทร์และดาวอังคาร รวมไปถึงการสร้างสถานีอวกาศแห่งแรกอีกด้วย
เย่ เป่ยเจียน หัวหน้าผู้ออกแบบยานสำรวจดวงจันทร์ กล่าวว่าการนำยานอวกาศที่บังคับโดยมนุษย์จะสามารถลงยอดที่ดวงจันทร์ได้อย่างแน่นอนภายในปีค.ศ. 2030 เป่ยเจียนยังเผยอีกว่าหลังจากที่จีนสามารถพิชิตดวงจันทร์และดวงอังคารได้แล้ว พวกเขาจะทำการศึกษากลุ่มดาวเคราะห์น้อยต่างๆอย่างเต็มที่
https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_6770766
นักดาราศาสตร์ค้นพบ กาแลคซี่ใหม่ 2 แห่ง อยู่ห่างจากโลก 20 พันล้านปีแสง
นักดาราศาสตร์ค้นพบ กาแลคซี่ใหม่ 2 แห่ง REBELS-12-2 และ REBELS-29-2 หลังม่านหมอก
ทีมนักดาราศาสตร์จากสถาบัน Niels Bohr แห่งมหาวิทยาลัย University of Copenhagen’s Niels Bohr Institute ได้พบกับกาแลคซีใหม่ 2 แห่ง ซึ่งอยู่ไกลจากโลกไปกว่า 29 พันล้านปีแสงโดยใช้ Atacama Large Milimeter Array (ALMA) เครื่องวัดระยะทางดาราศาสตร์จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุ 66 ตัวที่อยู่ในทะเลทราย Atacama Desert ของชิลี
กาแลคซีใหม่ทั้ง 2 แห่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยเลนส์ออพติคอลของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble Space Telescope แต่ด้วยเทคโนโลยี ALMA ก็ทำให้สามารถพบกาแลคซีใหม่ทั้ง 2 แห่งได้สำเร็จ ด้วย ALMA ทำให้สามารถสร้างภาพท้องฟ้าที่มีความละเอียดสูงและสามารถจับคลื่นวิทยุจากส่วนลึกที่มืดที่สุดของจักรวาลได้สำเร็จ

ก่อนหน้านี้เหล่านักดาราศาสตร์ได้เคยค้นพบกาแลคซีที่อยู่ไกลออกไปมากด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble Space Telescope แต่ก็ไม่ชัดเจน เพราะกาแลคซีที่พบถูกปกคลุมล้อมรอบไปด้วยฝุ่น แสงส่วนใหญ่ถูกปิดกั้น ทำให้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble Space Telescope มองทะลุผ่านเข้าไปไม่ถึง
ขอบคุณภาพจาก : science.ku.dk
จากการค้นพบกาแลคซี่ทั้งสองอีกครั้ง ทำให้มันถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น REBELS-12-2 และ REBELS-29-2 โดยแสงของทั้ง 2 กาแลคซีจะเดินทางจนมาถึงเราได้โดยใช้เวลาเพียง 13 พันล้านปี และด้วยการขยายตัวของจักรวาล ตอนนี้จักรวาลทั้ง 2 อยู่ห่างออกไปเพียง 29 พันล้านปีแสงเท่านั้น

การค้นพบที่มากขึ้น ทำให้ตอนนี้เหล่านักดาราศาสตร์พบว่ามีกาแลคซีมากกว่าที่ตัวเขาเคยคิดเอาไว้ เพียงแค่พวกมันถูกซ่อนอยู่หลังใต้ฝุ่นที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก ซึ่งตอนนี้สามารถตรวจพบได้ด้วย ALMA และเทคนิคของเหล่านักวิจัยทั้งหมด เหล่านักดาราศาสตร์เชื่อว่า 10 – 20% ของกาแลคซีในยุคแรก จะต้องถูกปิดซ่อนอยู่หลังฝุ่นจักรวาลอย่างแน่นอน อ้างอิงและเปรียบเทียบจากกาแลคซีที่ตรวจพบหรือเชื่อว่าเป็นจักรวาลยุคแรกเมื่อประมาณ 13 พันล้านปีก่อน
เชื่อว่าการเปิดตัวกล้อง James Webb Space Telescope ของ NASA ในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ จะช่วยให้เราค้นพบอะไรที่เกี่ยวกับกาแลคซีอีกมาก
แหล่งที่มา interestingengineering.com