เป็นไปได้! หนุ่มใช้แบงก์หยวนฟันตะเกียบคู่จนขาดกลาง (คลิป) โมเมนตัมทางฟิสิกส์
มันเจ๋งมาก นี่คือการแปลงโฉมห้องอพาร์ทเมนท์จากห้องเล็กรูหนู แค่ 24 ตารางเมตรพอเดิน ให้กลายเป็นสวรรค์เล็กๆ ที่จะทำให้คุณตะลึงเลย เขาออกแบบเป็นแนว Lego-Style จะออกมาเป็นยังไง มาดูกันเลย
คลิปการเคลื่อนที่หนึ่งมิติ (มหัศจรรย์)
ในชีวิตประจำวัน เราพบเห็นการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ เช่น นกบิน คนเดิน รถแล่นบนถนน ลูกบอลเคลื่อนที่ในอากาศ ใบพัดพัดลมหมุน เด็กแกว่งชิงช้า ผลไม้หล่นจากต้น เหล่านี้ล้วนเป็นการเคลื่อนที่ทั้งหมด แต่การเคลื่อนที่ดังกล่าวนี้มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร และขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง
การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง (การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ)
การเคลื่อนที่แนวเส้นตรงของวัตถุ เป็นการเคลื่อนที่ที่ไม่เปลี่ยนทิศ เช่น การเคลื่อนที่ของมะพร้าว เมื่อตกจากต้นสู่พื้นดิน การเคลื่อนที่ของรถยนต์บนถนน การเคลื่อนที่ของนักวิ่งในลู่วิ่ง เป็นต้น
ในขณะที่รถยนต์เริ่มเคลื่อนที่บนถนนตรง คนขับจะเหยียบคันเร่งทำให้รถเคลื่อนที่เร็วขึ้น ถ้าเราสังเกตที่เข็มวัดอัตราเร็วของหน้าปัดของรถ จะพบว่าเข็มเบนมากขึ้น แสดงว่ารถเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว (speed) เพิ่มขึ้น และถ้าพิจารณาทิศของการเคลื่อนที่ด้วย กล่าวได้ว่า รถเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว (Velocity) เพิ่มขึ้น
เช่น เมื่ออ่านค่าเข็มชี้อัตราเร็วของรถที่กำลังเคลื่อนที่ ขณะที่รถเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วของรถเปลี่ยนแปลง กล่าวได้ว่ารถเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง (acceleration)
1. เลดี้โกดิว่า สตรีผู้เลอโฉมแห่งเกาะอังกฤษไม่เคยขี่ม้าเปลือยไปรอบเมือง
เลดี้โกดิว่า เป็นสตรีผู้เลอโฉมที่มีตัวตนอยู่จริงเมื่อกว่า 100 ปีก่อน แต่สิ่งที่กล่าวกันไว้ว่าเธอมักจะขี่ม้าโดยเปลือยกายไปรอบ ๆ เมืองโคเวนทรี่ของอังกฤษนั้น อาจไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดเนื่องจากไม่มีหลักฐานใด ๆ มาพิสูจน์ได้เลยว่าเธอทำเช่นนั้นจริง ๆ
2. ไอน์สไตน์ไม่ได้สอบตกวิชาคณิตศาสตร์
ความจริงมีอยู่ว่า ไอน์สไตน์ เป็นเด็กที่ฉายแววฉลาดมาตั้งแต่อายุยังน้อยแล้ว แต่การที่มีการเล่าลือว่าเขาไม่ถนัดในวิชาเลขจนถึงขั้นสอบตกนั้นไม่เป็นเรื่องจริงแต่อย่างใด เหตุมันเกิดจากการที่เขาไปลองสอบเข้าโปลีเทคนิคในสาขาที่เกี่ยวกับเลขและวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่งในซูริค สวิตเซอร์แลนด์ แต่ไอน์สไตน์สอบไม่ติด เพราะอะไรรู้ไหม ก็เพราะเขาอายุยังไม่ถึงเกณฑ์น่ะสิ เขาเด็กกว่าที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยถึง 2 ปี !! (ขณะนั้นเขาอายุ 16 ปี) แถมในช่วงสอบเขายังได้รับการกดดันจากพ่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในเร็ววันมากกว่าที่จะเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนตามวัยตามที่ควรจะเป็น เพราะฉะนั้นเราจะพูดไม่ได้ว่าเขาสอบตกเลข เข้าใจตรงกันนะจ๊ะ
3. ซาโลเม่ ไม่ได้เป็นผู้ที่ต้องการให้ จอห์น เดอะ บัพติสท์ ถูกประหารตัดศีรษะ
ในหลาย ๆ ตำนานกล่าวว่า ซาโลเม่ บุตรสาวของ เฮโรเดียส นางผู้เป็นชายาของกษัตริย์เฮโรด เป็นผู้สั่งฆ่า จอห์น เดอะ บัพติสท์ โดยการประหารตัดศีรษะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว นางเป็นเพียงผู้ส่งสารเท่านั้น คนสั่งฆ่าตัวจริงคือ เฮโรเดียส แม่ของนางต่างหาก ที่อาศัยจังหวะที่ลูกสาวเต้นระบำโชว์จน กษัตริย์เฮโรด พอพระทัยจนเอ่ยปากว่าจะมอบของขวัญให้ ซาโลเม่ เป็นอะไรก็ได้ก็ตามที่นางต้องการ
และเมื่อ ซาโลเม่ ไปปรึกษากับแม่ว่าจะขออะไรดี ก็กลายเป็นช่องทางที่ เฮโรเดียส เล็งเห็นว่าจะได้กำจัดศัตรูอย่าง จอห์น เดอะ บัพติสท์ ได้ จึงให้ลูกสาวทูลขอการประหารดังกล่าว แม้ กษัตริย์เฮโรด จะเสียพระทัยเป็นอย่างมากเพราะพระองค์ทรงรักและศรัทธาในตัว จอห์น เดอะ บัพติสท์ แต่กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ จึงต้องทรงทำตามความประสงค์ของลูกสาว (ที่ฟังแม่มา) อย่างเสียไม่ได้
4. โทมัส เอดิสัน ไม่ได้เป็นผู้ผลิตหลอดไฟคนแรก
หลาย ๆ คนคงเข้าใจมาตลอดว่า โทมัส อัลวา เอดิสัน เป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไฟเป็นคนแรก แต่ที่จริงแล้ว มีนักประดิษฐ์หลายคนได้ผลิตหลอดไฟออกมาก่อนแล้ว แต่ไม่สามารถใช้ได้เป็นระยะยาวพอที่จะผลิตขาย เอดิสันเป็นเพียงผู้พัฒนาต่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้นและสามารถผลิตขายได้ในท้องตลาดเท่านั้นเอง
5. โคลัมบัส รู้อยู่แล้วว่าโลกกลม
ถ้าใครเคยอ่านประวัติศาสตร์ ก็จะรู้ว่า โคลัมบัส เป็นอีกคนที่ค้นพบว่าโลกกลม แต่ก่อนจะออกเดินทาง โคลัมบัส รู้อยู่แล้วว่าโลกของเรานั้นกลม ไม่ได้เพิ่งรู้ตอนเดินทางไปถึงแต่อย่างใด เขาจึงเลือกเดินทางไปหาฝั่งที่อยู่ทางตะวันออก โดยออกเดินทางไปทางตะวันตก !!
6. กลุ่มแม่มดที่ถูกเผาทั้งเป็นที่ซาเล็มไม่ใช่เรื่องจริง
เรื่องจริงก็คือแม่มดส่วนใหญ่จาก 20 คนที่ถูกจับไม่ได้ถูกเผาทั้งเป็น แต่ถูกแขวนคอต่างหาก และมีส่วนที่เหลือจากกว่า 10 คนไม่ได้ถูกแขวนคอแต่ถูกจองจำในคุกแทน
7. นโปเลียน โบนาปาร์ต ไม่ได้ตัวเตี้ย
ตามที่เห็นจากหลาย ๆ ที่ คนชอบคิดว่า นโปเลียน โบนาปาร์ต ตัวจริงต้องเป็นคนเตี้ยแน่ ๆ ด้วยความสูงเพียง 5′ 2″ นิ้วในหน่วย pounce ของฝรั่งเศส คนก็จะเข้าใจว่า นโปเลียน โบนาปาร์ต สูงเพียงประมาณ 157.5 เซนติเมตร แต่ในความเป็นจริงแล้ว 5′ 2″ ในหน่วย pounce จะเท่ากับ 5′ 6″ ในหน่วยวัดเป็นฟุตและนิ้ว เพราะฉะนั้นเมื่อเทียบจริง ๆ แล้ว นโปเลียน สูงถึง 167.5 เซนติเมตร ซึ่งก็ไม่ได้เรียกว่าเตี้ยแต่อย่างใด
8. กษัตริย์อาร์เธอร์ในตำนานอาจไม่มีตัวตนอยู่จริง
ว่ากันว่าต้นตอเรื่องกษัตริย์อาร์เธอร์ เป็นการผสมเรื่องราวเล่าขานจากเรื่องพื้นบ้านจากหลาย ๆ ที่ โดยจะเห็นได้ว่าเรื่องที่เล่าต่อกันมา เนื้อหา ผู้เกี่ยวข้อง และสถานที่ มักจะไม่สอดคล้องกัน และเรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการประวัติศาสตร์อีกด้วยเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ก็ยังไม่มีบทสรุปใดฟันธงแน่ชัดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องแต่งหรือเรื่องจริงแต่อย่างใด
9. พระนางมารี อองตัวแนตต์ อาจไม่ได้พูดในหลาย ๆ อย่างที่มีคนอ้างว่าเธอพูด
หลาย ๆ ประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกเกี่ยวกับสตรีผู้ยิ่งใหญ่จากแดนน้ำหอมคนนี้ มักจะมีหลาย ๆ คำพูดที่ถูกอ้างว่าเธอพูดขึ้นมาในช่วงที่เธอมีอำนาจเฟื่องฟู แต่…ไม่มีหลักฐานใดยืนยันแน่ชัดได้ว่า “เธอ” ได้พูดคำเหล่านั้นออกมาตามที่ได้กล่าวอ้าง
10. ชาวไวกิ้งไม่ได้สวมหมวกที่มีเขาสัตว์ประดับไว้บนหมวกตอนออกไปรบ
ชาวไวกิ้ง ไม่ได้สวมที่มีเขาสัตว์ประดับไว้ตอนออกไปรบแต่อย่างใด หมวกใบนี้จะถูกใส่ในช่วงเวลาทำพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างหาก เพราะฉะนั้นลืมภาพนักรบในหมวกเขาสัตว์ไปได้เลยจ้า
โดย ครูโกเอก (เอกนันท์ ตั้งธีระสุนันท์)
ให้นักเรียนทบทวนทาง YouTube Channel : physicskoake
พัฒนามาเป็น www.physicskoake.com
เรียนฟิสิกส์ออนไลน์ ฟรี 3 บท
เพียงสมัครสมาชิกและลงทะเบียนในบทที่ให้เรียนฟรี (0 บาท) สามารถเรียนฟรีได้ทันที (เมื่อแจ้งโอนและฟิสิกส์โกเอกตรวจสอบความถูกต้องแล้ว)
แจ้งปัญหาการใช้งานได้ที่ facebook:ฟิสิกส์โกเอก หรือ koake@physicskoake.com
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์เพื่อการศึกษาภูมิอากาศ วิวัฒนาการและนิเวศวิทยามหภาค ของมหาวิทยาลัยแห่งโคเปนเฮเกน กรุโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก นำโดยราสมุส เกรน ฮัฟโมลเลอร์ นักศึกษาปริญญาเอกด้านสัตวศาสตร์ จัดทำรายงานเผยแพร่ในโอริกซ์ วารสารเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ระบุว่า แรดสุมาตราในพื้นที่ป่าธรรมชาติในมาเลเซีย ซึ่งไม่มีใครพบเห็นมาตั้งแต่ปี 2007 นั้น สูญพันธุ์ไปเรียบร้อยแล้วในประเทศมาเลเซีย
จากการยืนยันดังกล่าว ทำให้ในเวลานี้หลงเหลือแรดสุมาตราในสภาพธรรมชาติเพียงไม่ถึง 100 ตัว อยู่ในพื้นที่ป่าในอินโดนีเซีย และมีแรดสุมาตราที่อยู่ในที่กักขังอีกเพียง 9 ตัวเท่านั้น โดยตัวหนึ่งในจำนวนนี้เลี้ยงอยู่ที่สวนสัตว์ซินซินเนติ สหรัฐอเมริกา และเตรียมโยกย้ายกลับมายังอินโดนีเซียในอีกไม่นาน อีก 3 ตัว อยู่ในซับบะห์ ในประเทศมาเลเซีย ส่วนที่เหลืออีก 5 ตัว อยู่ในศูนย์สงวนพันธุ์สัตว์สุมาตรา บนเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย
รายงานชิ้นนี้ นอกจากจะเรียกร้องให้มีการจัดทำโครงการเพื่อการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ โดยการผสมเทียมให้เป็นโครงการเดียวในระดับนานาชาติแล้ว ยังเรียกร้องให้มีการจัดทำ “พื้นที่บริหารจัดการ” ที่แรดสุมาตราสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างอิสระภายใต้การคุ้มครองอย่างเข้มงวด
เพื่อไม่ให้แรดสุมาตราสูญพันธุ์หมดไปจากโลกนี้จริงๆ
ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1440677608
จาก คมชัดลึก
ภายในของบันไดเลื่อน
บันไดเลื่อนเป็นอุปกรณ์ที่เห็นได้ทั่วไปในห้างสรรพสินค้า มันเป็นเครื่องจักรที่มีราคาแพงลิบ แต่ปัจจุบันเป็นเครื่องจักรที่ขาดเสียไม่ได้ เพราะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้อย่างดียิ่ง ที่จริงบันไดเลื่อนก็คือ สายพานลำเลียงที่ใช้ขนคนจำนวนมาก ในระยะทางที่ไม่ไกลนัก
ฟิสิกส์ราชมงคลจะเปิดเผยกลไกของบันไดเลื่อน ให้คุณได้เห็นภายในของมันว่า ไม่มีความลึกลับซับซ้อนอะไรเลย มีแต่ความธรรมดาสามัญในหน้าถัดไป
คลิป 3 คลิป นำท่านสู่อวกาศ
การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไทล์
คลิกครับ mp4
กระสุนของนิวตัน ยิงจากภูเขา จนมีความเร็ว รอบโลกได้
คลิกครับ mp4
กระสวยอวกาศ คือตัวแทนของกระสุนนิวตัน
ในการทดลองนี้ นิวตันนึกภาพปืนใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขาที่สูงมาก
หากไม่มีแรงโน้มถ่วง ลูกกระสุนปืนใหญ่จะสามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นตรงออกไปจาก โลก ได้
ดังนั้น ตราบใดที่ยังมีแรงโน้มถ่วงกระทำต่อลูกกระสุนปืนใหญ่ กระสุนยังเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางขึ้นอยู่กับความเร็วเริ่มต้นของมัน
© Getty Images โซเดียม กับ สุขภาพ
ประเทศที่มีการบริโภคเกลือสูง และมีทรัพยากรทางการแพทย์ค่อนข้างจำกัด การลดการบริโภคเกลือ เป็นกลยุทธ์สำคัญที่สุดในการต่อสู้กับโรคหัวใจและหลอดเลือด ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เริ่มให้ความสำคัญและตั้งเป้าหมายลดการบริโภคเกลือในประชากรทั่วไป
ผศ.ดร.อุไรพร จิตต์แจ้ง นักวิชาการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า รายงานการสำรวจปริมาณการบริโภคโซเดียมของกรมอนามัย ปี 2552 พบปริมาณการบริโภคโดยเฉลี่ย 10 กรัมต่อคนต่อวัน หรือสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 1 เท่า
สำหรับการสำรวจรอบใหม่กำลังดำเนินการโดยสถาบันโภชนาการอยู่ในขณะนี้ และการเก็บข้อมูลคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้า แต่ผลวิเคราะห์จะมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นกับการสร้างฐานข้อมูลส่วนประกอบอาหารว่าครอบคลุมรายการอาหารที่มีการบริโภคได้มากน้อยเพียงใด
โดยฐานข้อมูลโซเดียมที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนา อาทิ ฐานข้อมูลโซเดียมต่ออาหาร 100 กรัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องปรุงรส และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปต่าง ๆ ที่ข้อมูลยังขาดอยู่ รายการที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องขึ้นทะเบียนฉลาก เช่น น้ำปลา ซอสปรุงรส อาจใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากฉลากซึ่งใช้งบประมาณน้อยและควรทำเป็นระยะ
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนสูตรอยู่เสมอ ฐานข้อมูลส่วนประกอบอาหารเครื่องปรุงรส ต่อ 100 กรัมอาหารสุกหรือปรุงสำเร็จ
จากการวิเคราะห์ปริมาณโซเดียมของเครื่องปรุงรสเค็มหลักในอาหารอีสาน เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม กุ้งจ่อม ปลาเค็ม เข้มข้นมากถึง 4,000-6,000 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม ซึ่งอาหารเพียง 1 ช้อนโต๊ะจะมีโซเดียมเกินกว่าที่ควรได้ใน 1 มื้อแล้ว
© สนับสนุนโดย Daily News
นอกจากนี้มีข้อสังเกตว่า ปลาร้าต่าง ๆ แม้มีปริมาณโซเดียมใกล้เคียงกัน แต่เมื่อดูโซเดียมของปลาร้าที่ผลิตจากผู้ผลิตแบบวิธีการดั้งเดิมและที่แม่บ้านหมักเองจะมีค่าสูงกว่าของที่ขายปลีกในตลาดมาก ซึ่งสะท้อนถึงระดับโซเดียมคลอไรด์ที่ต่างกัน จึงเป็นไปได้มากว่าโซเดียมส่วนหนึ่งในปลาร้าขายปลีกไม่ใช้เกลือแกงที่จำเป็นในการหมัก
โดยมีโอกาสที่จะเป็นโซเดียมจากการเติมแต่งที่ไม่ใช่วิธีตามภูมิปัญญาดั้งเดิม เช่น การใส่ผงชูรส ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการศึกษา “เส้นทางสายปลาร้า” ที่พบว่าปัจจุบันปลาร้าที่ผลิตในเชิงพาณิชย์มีการหมักในระยะเวลาที่สั้นลง และมักมีการเติมแต่งระหว่างเส้นทางการขายปลีกในแต่ละทอด
การรณรงค์เพื่อให้ประชาชนลดปริมาณการบริโภคโซเดียมจึงสามารถทำได้โดยให้ข้อมูลและความรู้ ถึงการลดปริมาณเครื่องปรุงรสเค็มในขั้นตอนการปรุงประกอบซึ่งยังมีความเป็นไปได้สูง ส่วนเมนูที่มีน้ำจิ้มนอกเหนือจากลดปริมาณเครื่องปรุงรสเค็มและผงชูรสในการปรุงแล้ว ผู้บริโภคยังมีโอกาสควบคุมปริมาณโซเดียมด้วยตนเองในการบริโภคน้ำจิ้มต่าง ๆ แต่พอควร
และการใช้เครื่องปรุงรสเค็มท้องถิ่น เช่น ปลาร้าต่าง ๆ ควรส่งเสริมการผลิตตามวิถีภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ดีอยู่แล้ว อาจใช้ระบบรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือโอทอป และพยายามหมักเองหากเป็นไปได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องบริโภคโซเดียมส่วนที่เกินจำเป็น
นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน